เลือกกันซึมแบบไหนที่ใช้แล้วบ้านไม่รั่วซึม

1 Views

  พฤหัสที่ 18 มกราคม 2567

ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรืออาคารอยู่อาศัย ระบบกันซึมก็ถือเป็นส่วนสำคัญในงานก่อสร้างที่มีส่วนช่วยทำหน้าที่ปกป้องตัวบ้านจากความร้อนและน้ำฝนไม่ให้รั่วซึมเข้าสู่พื้นที่ภายในบ้าน แต่หากเลือกใช้ไม่เหมาะสมก็อาจส่งผลต่อการอยู่อาศัยได้เช่นกัน
 
ระบบกันซึม เป็นระบบหนึ่งของการก่อสร้างบ้านที่ได้รับการผลิตขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่สำคัญในการปกป้องพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านให้ปราศจากปัญหาน้ำรั่วซึมเข้าสู่พื้นที่ภายในบ้าน สำหรับการก่อสร้างบ้านส่วนใหญ่แทบทุกหลังที่เป็นบ้านปูนจะมีการใช้ระบบกันซึมเกือบทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ใต้ดินไปจนถึงชั้นดาดฟ้า รวมถึงผนังของบ้านก็มีการใช้ระบบกันซึมด้วยเช่นกัน โดยมีการแบ่งระบบกันซึมออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่
  • กันซึมชนิดผสมในคอนกรีต เป็นกันซึมชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ได้ตั้งแต่เริ่มการก่อสร้าง โดยอาจนำมาเทเป็นโครงสร้างหลักของบ้านหรือใช้ฉาบพื้นผิวผนังสำหรับกันซึมก็ได้เช่นกัน สำหรับระบบกันซึมประเภทผสมในคอนกรีตที่มีคุณภาพและสามารถใช้งานเพื่อกันน้ำได้ดี คือกันซึมชนิดที่สามารถสร้างผลึกในเนื้อคอนกรีต โดยเกิดการทำปฏิกิริยาระหว่างคอนกรีตที่ผสมสารประเภท Crystalline และน้ำ ทำให้เกิดเป็นผลึกขนาดเล็กในคอนกรีต ซึ่งสามารถอุดช่องว่างภายในเนื้อคอนกรีตที่เป็นรูพรุนให้เติมเต็มและมีความแข็งแรงมากขึ้น จึงทำให้สามารถกันความชื้นจากพื้นชั้นใต้ดินและผนังบ้านไม่ให้รั่วซึมเข้าสู่พื้นที่ภายในบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ทำให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึม จุดเด่น : เป็นระบบกันซึมที่สามารถนำมาใช้งานได้ง่ายและมีราคาไม่แพงข้อสังเกต : เนื่องจากเป็นระบบกันซึมที่มีการผสมผสานสารบางอย่างเพื่อไปทำปฏิกิริยาระหว่างคอนกรีตและน้ำเพื่อใช้ในการสร้างผลึกขนาดเล็ก แต่เพราะสารเคมีที่นำมาใช้เป็นชนิดใสและไม่มีสี จึงทำให้ยากต่อการควบคุมคุณภาพเพื่อให้ลงตัวกับการใช้งานได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้ผสมได้กับคอนกรีตเพียงชนิดเดียว และไม่สามารถนำไปผสมรวมกับวัสดุชนิดอื่นได้
  • กันซึมชนิดทาเคลือบพื้นผิว เป็นกันซึมที่มีลักษณะเป็นเนื้อของเหลว โดยนำมาใช้สำหรับทาเคลือบบนพื้นผิวอาคารเพื่อทำหน้าที่ป้องกันน้ำซึมผ่านตามพื้นผิวปูนเข้าสู่พื้นที่ภายในอาคาร โดยกันซึมชนิดนี้จะมีหน้าที่ป้องกันคอนกรีตไม่ให้สัมผัสกับความชื้นและน้ำ จุดเด่น : กันซึมชนิดทาเคลือบผิวเป็นกันซึมที่สามารถนำมาใช้งานได้ง่าย สามารถตรวจสอบได้ว่าบริเวณใดที่มีการทากันซึมเรียบร้อยแล้ว โดยมาพร้อมคุณสมบัติที่มีความทนทานต่อสารเคมีได้ดี ข้อสังเกต : เป็นกันซึมที่เหมาะสำหรับทาเคลือบพื้นผิวในบริเวณที่แห้งสนิทดีเท่านั้น และยังมีราคาค่อนข้างสูงโดยสามารถแบ่งกันซึมชนิดทาเคลือบหรือฉาบได้เป็นชนิดต่าง ๆ ดังนี้
  • กันซึมทาเคลือบผิวชนิด Cement base มีให้เลือกทั้งแบบชนิดผงและชนิดผงที่มาพร้อมน้ำยาผสมเพื่อใช้งาน โดยทั่วไปจะเรียกว่า กันซึมเซรามิค เหมาะสำหรับการนำมาใช้เคลือบทาบนชั้นดาดฟ้า เพราะโดดเด่นด้วยคุณสมบัติที่สามารถทนทานความร้อนสูงได้ดี พร้อมด้วยประสิทธิภาพในการต้านทานรังสี UV ที่มากระทบกับพื้นผิวดาดฟ้าโดยตรง จึงสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานให้กับหลังคาและผนังบ้านหรืออาคารได้ดี พร้อมนำไปใช้ได้กับทุกผิวสัมผัสของวัสดุที่หลากหลาย ทั้ง คอนกรีต กระเบื้อง อิฐ โลหะ ไม้ กระจก ฯลฯ เพราะมาพร้อมคุณสมบัติการยึดเกาะสูง จึงไม่ทำให้เกิดน้ำรั่วซึมเข้าสู่พื้นที่ด้านในอาคาร สามารถใช้ได้กับบ้าน โรงเรียน โรงงาน หรือโรงแรมก็ได้เช่นกัน
  • กันซึมทาเคลือบผิวชนิด Water base คือน้ำยากันซึมชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้สำหรับผลิตภัณฑ์บรรจุอาหาร เพราะมีคุณสมบัติที่สามารถทนต่อสภาวะน้ำแช่ขังได้ดี อีกทั้งยังสามารถสัมผัสกับอาหารได้โดยตรง จึงได้รับความนิยมนำมาใช้ในวงการอุตสาหกรรมบรรจุอาหาร 
  • กันซึมทาเคลือบผิวชนิด Sovent base เป็นกันซึมแบบน้ำยาเคลือบใสที่ไม่มีสี ปราศจากสารพิษที่เป็นอันตราย เหมาะสำหรับนำมาใช้เคลือบพื้นผิวเพื่อป้องกันการเกิดตะไคร่น้ำและเชื้อรา โดยส่วนใหญ่จะนิยมนำมาใช้ในงานพื้นของโรงงานอุตสาหกรรม หรือพื้นภายในโรงเรียน โรงแรม และโรงพยาบาลเป็นหลัก เพราะสามารถเพิ่มความมันวาวให้กับพื้นผิวได้ดี โดยสามารถนำมาทาได้ทั้งบนพื้นผิวคอนกรีตและกระเบื้อง อีกทั้งยังมีการนำมาใช้ร่วมกับพื้นพียูและพื้นอีพ็อกซี่ที่นิยมใช้ตามโรงเรียนด้วยเช่นกัน แต่เนื่องจากไม่สามารถทนทานต่อความร้อนของรังสี UV ได้มากนัก จึงไม่ควรนำมาใช้ทากันซึมบริเวณดาดฟ้าที่ต้องเผชิญกับแสงอาทิตย์ตลอดวัน เพราะอาจจะทำให้ดาดฟ้ารั่วซึมจนกลายเป็นปัญหาใหญ่
  • กันซึมชนิดที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่
         - โพลียูรีเทนกันซึม หรือที่คนส่วนใหญ่นิยมเรียกกันว่าพียู นิยมนำมาใช้กับคอนกรีตที่มีความยืด หด และขยายตัวสูง โดยเฉพาะบริเวณดาดฟ้าที่เสียงต่อการเกิดรอยแตกร้าวค่อนข้างมาก จึงนิยมนำมาทาเป็นกันซึมบริเวณดาดฟ้าตามบ้านและอาคารทั่วไป เพราะสามารถช่วยรองรับแรงดึงในการยืดหดตัวได้ดี พร้อมทั้งยังสามารถปิดรอยแตกร้าวบนคอนกรีตได้อย่างทนทาน ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำรั่วซึมตามรอยแตกร้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         - อะคริลิคกันซึม เป็นวัสดุกันซึมที่มีความยืดหยุ่นตัวน้อยกว่ากันซึมชนิดพียู แต่สามารถช่วยเสริมความแข็งแกร่งและป้องกันการแตกร้าวได้ดี จึงนิยมนำมาใช้สำหรับฉาบผนังอาคารหรือดาดฟ้าที่ต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมภายนอกตลอดวัน 
         - กันซึมเพียวโพลียูเรีย เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติกันซึมอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณสมบัติความยืดหยุ่นสูง และสามารถทนทานต่อภูมิอากาศในสภาพต่าง ๆ ได้ดีแม้จะมีอุณหภูมิติดลบหรือร้อนจัด พร้อมทั้งยังสามารถทนทานต่อแรงเสียดสี แรงกระแทก และแรงดึงของคอนกรีต ซึ่งโดยส่วนมากจะนิยมนำไปใช้เป็นกันซึมสำหรับเคลือบภายในแทงค์น้ำหลากหลายรูปแบบ
 
  • กันซึมชนิดแผ่น หรือที่เรียกกันว่าเมมเบรน เป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกใสแบบสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับกันซึมตามรอยแตกร้าวบนผนัง ดาดฟ้า และพื้น โดยสามารถติดตั้งด้วยการใช้ความร้อนและกาวเชื่อมระหว่างแผ่นกันซึมเข้ากับพื้นผิวในบริเวณที่ต้องกันใช้งานกันซึม จุดเด่น : สามารถมั่นใจได้ว่าการใช้กันซึมชนิดนี้จะมีระดับความหนาของแผ่นกันซึมที่เท่ากันตลอดพื้นผิว เพราะเป็นวัสดุกันซึมที่ได้รับการผลิตมาจากระบบโรงงานโดยตรงแบบสำเร็จรูป รวมทั้งยังมีเฉดสีที่หลากหลายให้เลือกสรรตามการใช้งานที่ต้องการข้อสังเกต : เนื่องจากวัสดุกันซึมชนิดนี้จะมีรอยต่อที่เชื่อมแต่ละแผ่น ซึ่งอาจทำให้เกิดการรั่วซึมจากรอยต่อต่าง ๆ ได้ง่าย หากช่างผู้ติดตั้งแผ่นกันซึมขาดประสบการณ์และความชำนาญ จึงควรติดตั้งแผ่นกันซึมให้เนียนสนิทมากที่สุดโดยไม่มีช่องว่างระหว่างแผ่น หากเป็นบริเวณบ้านหรืออาคารที่มีดีไซน์เป็นเหลี่ยมมุมค่อนข้างมากอาจไม่เหมาะสำหรับการติดตั้งระบบกันซึมชนิดนี้ เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดน้ำรั่วซึมระหว่างรอยต่อและการเข้ามุมตามอาคารได้ง่าย อีกทั้งยังไม่เหมาะกับบริเวณที่เผชิญกับความร้อนสูง เพราะกันซึมชนิดนี้ไม่สามารถทนความร้อนได้มากนัก จึงอาจทำให้แผ่นกันซึมโป่งพองหรือหลุดออกมาได้ อีกทั้งยังเป็นวัสดุที่สามารถติดไฟได้ง่าย จึงเหมาะสำหรับการติดตั้งเพื่อใช้ปูรองพื้นที่มีวัสดุปูทับอีกชั้นหนึ่ง อย่างแผ่นกระเบื้อง จะเหมาะสมมากกว่า
  • พีวีซีเมมเบรน เป็นวัสดุกันซึมชนิดแผ่นที่มีความทนทานสูงในทุกสภาพอากาศ สามารถใช้งานได้ยาวนานมากถึง 10 ปี โดยสามารถกันน้ำไม่ให้รั่วซึมผ่านรอยแตกร้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ปูพื้นได้ทั้งภายในอาคารและนอกอาคาร หรืออาจนำไปใช้ปูรองพื้นบนดาดฟ้าที่มีการจัดสวนปลูกต้นไม้ หรือในบริเวณที่มีการทำบ่อน้ำก็ได้เช่นกัน
  • โพลีเทนเมมเบรน เป็นวัสดุกันซึมชนิดแผ่นที่ประกอบไปด้วยแผ่นพลาสติกจำนวน 4 ชั้นซ้อนกัน โดดเด่นด้วยคุณสมบัติที่มีความแข็งแรงทนทาน แต่มีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นสูง และสามารถกันน้ำได้ดี จึงเหมาะสำหรับการนำมาติดตั้งเพื่อใช้ปูรองพื้นกันซึมก่อนการปูพื้นกระเบื้องตามบ้านและอาคาร
  • บิทูเทนเมมเบรน เป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับนำมาซ่อมแซมปกปิดรอยแตกร้าวตามแนวหลังคาบ้าน รอยร้าวตามหน้าต่าง เป็นต้น เพราะเป็นวัสดุที่สามารถยึดเกาะได้กับทุกพื้นผิว มีความยืดหยุ่นสูง และสามารถติดตั้งได้อย่างง่ายดาย
ในปัจจุบันมีระบบกันซึมมากมายหลายชนิดให้เลือกสรรในการใช้งาน ซึ่งแต่ละชนิดย่อมมีข้อดีและข้อที่ต้องสังเกตแตกต่างกันออกไป ซึ่งนอกจากการเลือกระบบกันซึมที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมต่อการใช้งานแล้ว การเตรียมพื้นที่ในบริเวณนั้นให้เหมาะสำหรับการใช้งานกันซึมอย่างเหมาะสมก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยทำให้ระบบกันซึมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
ที่มา : https://www.sanook.com/women/219785/